หลวงปู่ชวน กตปุญโญ
หลวงปู่ชวน กตปุญโญ วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง
หลวงปู่ชวน ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ปีมะโรง ปัจจุบันหลวงปู่ชวน กตปุญโญ อายุ ๘๑ ปี ๕๔ พรรษา ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๗ ปีตรงกับพ.ศ.๒๔๙๗ ณ อุโบสถวัดสามง่าม จ.นครปฐม
ในขณะนั้นมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเต๋ คงทองเป็นเจ้าอาวาส เหตุที่หลวงปู่ชวนบวชนั้นท่านกล่าวว่า โอ้ชีวิตฆราวาสนั้นก็มีแต่ความวุ่นวาย มีแต่เรื่องที่จะต้องเบียดเบียนกัน เห็นแล้วเราก็รู้สึกสังเวชใจ เราเองในชีวิตฆราวาสปกติก็ไม่เหมือนเขา เราเหมือนพระมากกว่า เราเองก็คิดจะบวชเพื่อจะได้อยู่ในร่มกาศาวพัตรตามที่เราตั้งใจไว้ เราเองไม่ชอบเบียดเบียนใคร เราไม่ชอบวุ่นวาย เราก็คิดว่าเราต้องบวช เพราะเราเองก็ได้ศึกษาธรรมมามาก รวมทั้งวิชาต่างๆที่เราได้เรียนจากหลวงตา จนแตกฉานพอสมควร เพราะว่าเราเป็นหลานแท้ๆของหลวงตาแช่ม วัดตาก้อง เราก็เลยรู้วิชาของหลวงตามากกว่าใคร
หลวงตาแช่มท่านยังสอนวิปัสสนาและข้อธรรมที่สำคัญให้เรา รวมทั้งวิชาทำตุ๊กตาทอง กุมารทอง และตะกรุดคงกระพันมหาเมตตา พอเราบวชแล้วเราก็เลยมาสร้างให้หลวงพ่อเต๋ ที่ท่านแจกนั่นแหละ เมื่อตั้งใจบวชอยู่ในเพศบรรพชิต หลวงปู่ชวนท่านก็เลยอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามกับหลวงพ่อเต๋ คงทองพระอาจารย์ ด้วยวิสัยเดิมของท่านเป็นพระที่ขยันเล่าเรียน ท่านได้เรียนพระปริยัติธรรม และขยันท่องบ่นมนต์คาถา มนต์พิธีจนแตกฉานได้อย่างรวดเร็วเหนือกว่าพระรุ่นเดียวกัน
จนเป็นที่รักของหลวงพ่อเต๋ เป็นอย่างมาก พระสหธรรมิกรุ่นราวคราวเดียวกันก็เห็นหลวงปู่ท่านบอกว่า ชื่อแย้ม ต่อมาก็คือ หลวงปู่แย้ม แห่งวัดสามง่ามนั่นเอง หลวงปู่ชวนเมื่ออยู่ในเพศบรรพชิต ท่านเป็นพระที่พูดตรง วาจาชัดเจนเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ข้อวัตรปฏิบัติ เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำ กิจวัตรอันต้องปฏิบัติในหน้าที่ของสงฆ์ ชอบเล่าเรียนสรรพวิชาต่างๆในไสยเวทและวิทยาคม ชอบแสวงหาครูอาจารย์ ความรู้ในข้อธรรมต่างๆ และไสยเวทหลายต่อหลายสำนัก ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีความรู้ทางด้านกรรมฐานเดิมอยู่แล้ว รวมทั้งเวทมนต์คาถาต่างๆท่านก็ศึกษามาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวช
จึงทำให้ท่านสามารถศึกษาวิชาความรู้จากครูอาจารย์ของท่านได้อย่างรวดเร็ว รู้แจ้งแทงตลอดในสรรพวิชานั้นๆอย่างลึกซึ้ง บางครั้งบางคราวท่านก็เอาสมุดข่อยเก่าโบราณมาศึกษาวิชาเพิ่มเติมอีกหลายแขนง ท่านได้กล่าวว่า ความรู้ต่างๆเรียนให้รู้ รู้ให้จริง เอาแต่วิชาดีๆ ปฏิบัติให้ได้ แล้วควรเก็บรักษาไว้ เพื่อสืบทอดสิ่งดีๆต่อไป อย่าเพียงแต่ว่ารู้งูๆปลาๆ ไม่ได้ผล เมื่อวันเวลาผ่านไป ท่านได้บวชเรียนจำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่าม ปรณนิบัติรับใช้หลวงพ่อเต๋ คงทอง เป็นเวลาหลายปี ท่านเล่าว่า อันวิชาที่เราเรียนมานั้น หากว่าจะทำประโยชน์ให้พระพุทธศาสนา เราก็จะสร้างวัตถุมงคล เพื่อให้หลวงพ่อเต๋ท่านแจกเวลาชาวบ้านมาทำบุญที่วัด ก็เลยสร้างตุ๊กตาทอง กุมารทอง และตะกรุดถักเชือกสีขาวโดยให้พระลูกวัดที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามเป็นผู้ ถัก โดยหลวงปู่ชวนท่านเป็นผู้สอนด้วยตนเอง
อนึ่งในการทำตุ๊กตาทอง กุมารทอง หลวงปู่ชวน ท่านได้จัดหามวลสารด้วยตัวท่านเอง มวลสารแต่ละอย่างนั้นท่านจะต้องเดินทางรอนแรมเข้าไปในป่าลึก เพื่อหาดิน ๗ โป่ง และเข้าไปพลีดินในป่าช้าผีดุอีก ๗ ป่าช้า รวมทั้งดิน ๗ ท่า จะต้องใช้ท่าน้ำที่คนเขาข้ามไป-มามากๆ จึงจะตรงตามตำราที่ว่าไว้ เพื่อเอามาผสมกันปั้นเป็นตุ๊กตาและกุมารทอง แล้วเสกด้วยคาถาเฉพาะในตำราเท่านั้น ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้รับแจกตุ๊กตาและกุมารทองแล้วนำไปบูชา ก็เกิดประสบการณ์มากมาย บางคนก็ได้เงินทองซึ่งเป็นลาภที่ไม่คาดคิด บางคนก็ค้าขายดีจนมีฐานะที่มั่งคั่งร่ำรวย ส่วนตะกรุดนั้นเรื่องคงกระพันชาตรีไม่ต้องพูดถึงแน่นอนที่สุด
นอกจากหลวงพ่อชวนจะสร้างตุ๊กตากุมารทอง ตะกรุด ท่านยังได้สร้างพระอีกหลายพิมพ์ให้พระอาจารย์ของท่านแจก วัตถุมงคลต่างๆนี้หลวงปู่ชวนท่านปลุกเสกเองทั้งหมด แต่ท่านไม่เคยบอกใคร ท่านเองบอกว่าท่านไม่อยากดัง ไม่อยากเหนื่อย หลวปู่ชวนได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามเป็นเวลาหลายพรรษา และตลอดเวลาที่อยู่วัดสามง่าม ท่านได้เที่ยวเสาะแสวงหาวิชาความรู้จากคณาจารย์หลายรูป
ท่านรู้สึกว่าคงจะถึงเวลาที่จะต้องออกธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจจะธรรมและความสงบ ในการออกจารึกแสวงหาบุญในการธุดงค์ดูบ้าง จึงตัดสินใจกราบลาหลวงพ่อเต๋ ออกธุดงค์ต่อไป ท่านธุดงค์ไปหลายสถานที่หลายจังหวัด เที่ยวนำคำสอนของพระพุทธองค์สั่งสอนพุทธบริษัทที่ท่านได้ธุดงค์ผ่าน ให้อยู่ในหลักธรรมอันดีของพุทธศาสนา
ครั้งหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปแถบจังหวัดราชบุรี ที่วัดถ้ำแห่งหนึ่งชื่อว่า ถ้ำเสือ ณ หมู่บ้านนี้มีพุทธบริษัทที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากพอสมควร หลวงปู่ชวนท่านมีสหธรรมิกอยู่รูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์คง หลวงพ่อท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ เพราะว่าญาติโยมได้ขอร้องนิมนต์ท่านให้อยู่ช่วยพัฒนาวัดและสั่งสอนพุทธ ศาสนิกชนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี หลวงปู่ท่านเองก็เห็นประโยชน์ก็เลยรับนิมนต์ที่จะช่วยพัฒนาวัดให้เจริญยิ่งขึ้น
ตลอดระยะเวลาที่จำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำเสือนี้ท่านได้ทำการจัดสร้าง เสนาสนะต่างๆมากมายให้เจริญขึ้นโดยลำดับ จนเป็นที่พอใจของพุทธบริษัททั่วไป หลวงปู่ชวน ท่านเป็นที่รักใคร่และให้ความเคารพของพุทธบริษัททั้งหลายเป็นอันมาก นอกจากนั้นหลวงปู่ชวนท่านยังเล็งเห็นว่าการศึกษาของชนรุ่นหลังว่าจะไม่มี ความรู้ จึงได้สร้างโรงเรียนให้อีกหนึ่งอาคาร ก็เรียกว่าเป็นโรงเรียนที่เรียนได้เป็นร้อยคน ชื่อว่าโรงเรียนชวนคงอุปถัมภ์
หลังจากการสร้างเสนาสนะภายในสำนักสงฆ์และดำเนินการสร้างโรงเรียนเป็นที่พอใจ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแล้ว หลวงปู่ชวนท่านก็ได้ขอลาญาติโยมเพื่อจะไปธุดงค์ต่อไปในครั้งนั้นมีผู้ เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่ได้พยายามรั้งหลวงปู่ไม่ให้ออกธุดงค์ แต่ด้วยความตั้งใจของหลวงปู่ก็ไม่มีใครสามารถห้ามหลวงปู่ไว้ได้ หลวงปู่ชวน กตปุญโญ ออกเดินทางธุดงค์ต่อไปท่านมุ่งหน้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี ท่านเดินธุดงค์ผ่านป่าเขาลำเนาไพรค่ำที่ใดก็พักที่นั่น ถนนหนทางก็ไม่ค่อยจะมีเหมือนสมัยนี้ ในเวลาเช้าถึงเวลาออกบิณฑบาตบางวันก็ได้ฉันบางวันก็มิได้ฉัน หลวงปู่บอกว่า บางมื้อฉันแค่ยอดผักบุ้งและใบขี้เหล็กเท่านั้น เดินธุดงค์มาจนถึงจังหวัดกาญจนบุรีมุ่งหน้าไปที่ อ.ศรีสวัสดิ์
หลวงปู่ชวนเล่าว่าแถบนี้มีแต่ป่ามีแต่เขา เดินธุดงค์ไปนานๆจะเจอหมู่บ้านสักหลัง ใบไม้คืออาหารประจำ แต่ก็รู้สึกสงบร่มรื่นในจิตใจไม่รู้สึกอิ่มไม่รู้สึกหิวเบาสบายอย่างน่า อัศจรรย์ หลวงปู่ชวนยังเล่าต่อว่าในป่าจังหวัดกาญจนบุรีนี้มีเสือ ช้าง และอสรพิษชุกชุมแต่ก็แปลกที่มันไม่ทำร้ายเรา
ผู้เขียนได้ฟังหลวงปู่ชวนท่านเล่าก็คิดว่าถ้าหลวงปู่ท่านไม่แน่จริงก็คงไม่ รอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงเข้าพรรษาหลวงปู่ชวนท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดแห่งหนึ่งชื่อว่าวัดเขา น้อยถ้ำหัวช้างในการจำพรรษาอยู่นี้หลวงปู่ชวนท่านก็ได้แวะเวียนไปสนทนาธรรม กับหลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้าเป็นประจำ จนชอบพอในอัธยาศัยซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่ออุตตมะอีกด้วย
ในการที่ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาน้อยนี้หลวงปู่ชวนท่านได้ทำการจัดสร้าง พระพุทธรูปใหญ่ไว้ที่วัดนี้ด้วย และรวมถึงกุฏิสงฆ์เสนาสนะต่างๆมากมาย อันนำมาซึ่งคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง นัยหนึ่งในการสร้างถาวรวัตถุต่างๆนั้นหลวงปู่ชวนท่านมักจะทำการออกแบบเองและ ลงมือทำด้วยตนเองเสมอ หลวงปู่ชวน กตปุญโญเมื่อที่ธุดงค์อยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีก็ได้พบกับคณาจารย์หลายท่าน ที่ท่านได้แวะไปสนทนาธรรม เช่นหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้าอยู่เป็นประจำ ท่านชอบพอกันมากได้สนทนาแลกเปลี่ยนวิชากันเป็นประจำในด้านวิปัสสนาธุระและ คันถะธุระ
จะเห็นได้ว่าหลวงปู่ชวน ท่านเป็นพระอริยบุคคลที่สรรสร้างคุณประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาและพุทธ บริษัทมากมายนานับประการ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งยวด มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ และคันธะธุระ สมกับเป็นพระสุปฏิปันโน สาธุชนให้ความศรัทธาเลื่อมใสมากมาย หลังจากที่ท่านได้สร้างองค์พระใหญ่เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ชวนท่านได้ธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า การเดินธุดงค์ที่ภาคเหนือ เวลาพุทธบริษัทใส่บาตรฉันไม่ค่อยได้ แต่ท่านก็ฉันตามจิตศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ในการธุดงค์ท่านก็ธุดงค์เพียงลำพัง จิตเรารู้สึกสงบร่มเย็นเป็นสรณะอันสงบสุขและจิตที่ผ่องแผ้ว รู้สึกสบายเยือกเย็น เหมือนกับเราได้อยู่ใกล้ๆพระพุทธองค์ ในการบิณฑบาตรบางวันก็ได้ฉัน บางวันก็ไม่ได้ฉัน แต่ทุกวันจิตก็เป็นปกติ ไม่รู้สึกหิว ไม่รู้สึกอิ่ม ในคืนหนึ่งได้ปักกรดอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ พอจิตสงบลงก็นิมิตว่ามีเทวดาองค์หนึ่ง ได้เข้ามาในนิมิตขอร้องว่า หลวงปู่ขอให้หลวงปู่เดินทางมาอยู่ที่วัดเขาแก้ว ต.องค์รักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ให้หลวงปู่มาช่วยแก้อาถรรพ์ภายในวัดนี้ด้วย เพราะมีแต่หลวงปู่เท่านั้นที่จะแก้อาถรรพ์และทำให้วัดนี้เจริญขึ้นได้ ตลอดจนจะทำให้พุทธศาสนิกชนอยู่ในศีลธรรมอันดีได้ หลวงปู่ท่านได้พิจารณาในนิมิต คิดอยู่ในใจว่า เราคงต้องไปตามคำขอร้องของเทวดาองค์นี้ ก็เลยตัดสินใจเดินทางมาที่วัดเขาแก้วตามที่เทวดาองค์นั้นได้ขอร้องในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙
ในขณะนั้นที่วัดเขาแก้วมีกุฏิไม้เก่าๆอยู่ไม่กี่หลัง พระอุโบสถฐานเตี้ยติดดินฝนตกน้ำไหลจนท่วมเข้าไปในอุโบสถมีหลังคาสังกะสีคลุม แต่ก็ไม่สามารถกันแดดกันฝนได้ หลวงปู่ชวนได้เข้าไปจำพรรษาที่วัดเขาแก้วอยู่หนึ่งปีก็ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.๒๕๒๐ ลำดับเจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๐ ตั้งแต่สร้างวัดเขาแก้วมา หลวงปู่ชวน กตปุญโญนั้นได้เริ่มพัฒนาปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะว่าวัดนั้นอยู่ไกลจากหมู่บ้านผู้คนพุทธบริษัทก็มีน้อย อีกทั้งถนนหนทางก็ยากลำบากที่จะเข้ามายังวัด อีกอย่างหนึ่งคนสมัยนั้นไม่ค่อยจะเดินผ่านเพราะว่าผีดุมาก
หลวงปู่ชวน กตปุญโญท่านได้ทำการจัดสร้างถนนหนทางเข้าวัดได้สะดวกขึ้น ถนนนั้นยาวนับทั้งสองด้านเป็น๒-๓กิโลเมตร ต่อมาได้มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของหลวงพ่อ ได้ทยอยกันมาทำบุญที่วัดเขาแก้วมากขึ้นแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีปัจจัยพอ ที่จะสร้างเสนาสนะอื่นให้เกิดขึ้น หลวงปู่ชวน กตปุญโญ ท่านได้ปฏิบัติทุกวิถีทางที่จะทำให้วัดเขาแก้วเจริญขึ้น ท่านทุ่มเททุกอย่างเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มความสามารถ หลวงปู่ท่านได้ทำการทำนุบำรุงเสนาสนะแบบค่อยเป็นค่อยไป ท่านได้สร้างท้าวเวสสุวัณและพระวิษณุกรรมไว้ที่ด้านหน้าพระอุโบสถเพื่อดับ อาถรรพ์ต่างๆ นับจากวันที่หลวงปู่ชวนท่านได้มาอยู่ที่วัดเขาแก้วตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆไม่ว่าจะเป็นศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ พระอุโบสถ พระเมรุและวิหารหลวงปู่ขาวที่ย้ายมาจากวิหารหลังเก่า
ปัจจุบันวัดเขาแก้วเจริญขึ้นตามลำดับ โดยส่วนใหญ่แล้วหลวงปู่ชวนท่านจะใช้ปัจจัยส่วนตัวของท่านในการจัดสร้างเสนาสนะ ต่างๆ มีคนเคยถามท่านว่า หลวงปู่เอาปัจจัยที่ใดมาสร้างวัดครับ หลวงปู่ท่านตอบว่า ฉันก็เป็นหมอรักษาคนป่วยทางกายและใจ ลูกศิษย์ลูกหาของท่านต่างรู้ดีว่าหลวงปู่ท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีตาทิพย์ รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า พยากรณ์แม่นยำอย่างตาเห็น แม้หลวงปู่ท่านจะจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาแก้ว ท่านก็ยังคงปฏิบัติดังเช่นพระป่าเช่นเดิม ในเวลาเข้าพรรษา หลวงปู่ชวนท่านจะไม่จำวัดในห้อง แต่จะปักกรดจำวัดอยู่ตลอดทั้งพรรษา ท่านยังคงปฏิบัติกรรมฐานวันละหลายชั่วโมง ทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยละเว้นเลยสักวัน
หลวงปู่ชวนท่านเป็นพระที่มีจริยวัตรที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านเป็นคนที่พูดจาขวานผ่าซาก ตรงไปตรงมา เสียงดังฟังชัด แต่คำพูดของท่านล้วนแต่เป็นความจริงและมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอ หลวงปู่ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่ไม่ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ ยศถาบรรดาศักดิ์ทั้งหลาย ดังเช่นที่คณะสงฆ์มีมติแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล แต่หลวงปู่ชวนท่านก็ไม่รับ หลวงปู่ชวนท่านยังได้ชื่อว่า เป็นบรมครูวิชาไสเวทย์พุทธาคมรูปหนึ่งของเมืองไทย ณ เวลานี้ แต่ท่านก็ให้นิยามของไสเวทย์วิทยาคมไว้ว่า อันวิชาต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้มีทั้งวิชาที่ดีและไม่ดี หากเราใช้วิชาที่ไม่ดีตัวเราก็เป็นคนไม่ดีด้วย
หากเราใช้วิชาที่ดีเราก็จะดี คำว่าวิชาไม่ใช่อวิชชาต้องเข้าใจให้ถูก คำว่าวิชาต้องดีและต้องถูกต้อง ที่ปลุกเสกกันทุกวันนี้มีจุดมุ่งหมายอะไร ปลุกเสกนี้คือการนำเอาพระรัตนตรัยเป็นใหญ่ ส่วนที่จะปลุกเสกอะไรนั้น ก็ให้ปลุกเสกตามตำรา อันที่จริง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก็ดีที่สุดกว่าสิ่งใดแล้ว เราคือลูกตถาคต เราเป็นผู้ทรงศีล เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา หากโกหกใครกินก็หมดความเป็นผู้ทรงศีล ทรงธรรมอันเป็นสิ่งล้ำค่า
ใน การสร้างวัตถุมงคลนั้น หลังจากที่หลวงปู่ชวน ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลให้หลวงพ่อเต๋ คงทอง แห่งวัดสามง่ามแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์วัตรตลอดระยะเวลาหลายปี ท่านก็มิได้สร้างวัตถุมงคลอะไรเลย จนกระทั่งมาจำพรรษาที่วัดเขาแก้ว ท่านจึงได้สร้างพระเนื้อเกสรขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ชื่อว่าพระชัยมงคล ปีพ.ศ.๒๕๒๒ พุทธลักษณะองค์พระสามเหลี่ยม ซุ้มแก้ว ปางมารวิชัย มีเส้นทองแดงม้วนเป็นตัวนะ ประจุอยู่ด้านหลังองค์พระ หลังจากปลุกเสกเสร็จแล้วท่านได้นำมาใส่บาตรไว้ในกุฏิโดยวางไว้เฉยๆมิได้ให้ บูชาแต่ประการใด วันเวลาผ่านไปหลายปี ในระยะหลังลูกศิษย์ที่วัดได้อารธนาขึ้นคอ แล้วเกิดปฏิหาริย์มากมายในด้านเมตตา คงกระพันชาตรี เป็นที่แสวงหากันมาก ลูกศิษย์เห็นว่าพระมีอยู่จำนวนพอสมควร เลยนำออกมาให้บูชาเพื่อนำปัจจัยมาทำนุบำรุงสิ่งต่างๆภายในวัด องค์ละ ๑๐๐ บาท ปัจจุบันน่าจะมีจำนวนพระไม่เกิน 50 องค์
ในระยะหลังกรรมการวัดตลอดจนศิษย์ทั้งหลาย ได้ขอให้หลวงปู่สร้างวัตถุมงคล เพื่อหารายได้สร้างเสนาสนะและพระอาราม ท่านจึงได้ออกเหรียญรูปไข่ในปี ๒๕๔๐ ต่อมาในปี ๒๕๔๓ ท่านได้สร้างเหรียญน้ำเต้าพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จากนั้นอีก ๗ ปีต่อมาตรงกับพุทธศักราช ๒๕๕๐ คณะศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างตะกรุดเนื้อชินตะกั่ว โดยได้เข้านิมนต์ขอสร้างถึง ๓ เดือน ท่านจึงได้อนุญาตให้จัดสร้างชื่อว่า ตะกรุดชวนคงชาตรี เพื่อหารายได้เทปูนหน้าลานวัด ภายในระยะเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถเทลานวัดเสร็จสมบูรณ์ จนเป็นที่กล่าวขานกันว่าหลวงปู่ท่านรู้วาระจิต รู้กาลเวลา ที่จะออกวัตถุมงคลในเวลาใดดีที่สุด
หลังจากที่ท่านได้จัดสร้างตะกรุดในครั้งนั้น ก็มีนิตยสารต่างๆเข้ามาขออนุญาตินำประวัติหลวงปู่ชวนออกเผยแผ่ แต่ท่านก็ปฏิเสธตลอดเรื่อยมา รวมทั้งผู้ที่ต้องการทำหนังสือและจัดสร้างวัตถุมงคลได้มาขออนุญาติท่าน โดยออกในนามของหลวงปู่ชวน ท่านและวัด แต่ท่านก็ไม่อนุญาติไม่ว่าจะขอร้องท่านกี่ครั้งก็ตาม ท่านบอกว่าจริงๆแล้วฉันไม่สนใจหรอก ไม่อยากจะดังด้วย ฉันทำมาจนเบื่อแล้ว ทำให้หลวงพ่อเต๋ ท่านแจกมากมาย ไม่รู้ว่าฉันมีดีอะไร คงจะเป็นเมื่อคราวที่โจรมันปล้น แล้วบังเอิญมันยิงไม่ออก เขาก็เลยว่าฉันมีดี มันเป็นอย่างนั้นต่างหาก
หลวงปู่ชวน ท่านได้คุยกับผู้เขียนว่า อันที่จริงแล้วฉันก็รู้สึกว่าอยากจะไปต่อ เพื่อสร้างประโยชน์ให้พระพุทธศาสนาที่อื่นบ้าง แต่เราก็รู้สึกว่าอายุมาก สังขารมันไม่อำนวย บางครั้งดี บางครั้งร้ายคนแก่เป็นอย่างนี้แหละ แต่ฉันก็อยากสร้างโรงทาน และศาลาธรรมสังเวชให้ไว้เป็นประโยชน์ต่อไป เมื่อเรามีเงินก็สร้างเมื่อไม่มีก็เก็บให้พอเสียก่อน ฉันไม่ชอบทำทีละนิดหน่อย ชอบทำทีเดียวให้มันลุล่วงไปเลย
ท่านกล่าวเมื่อตอนที่ผู้เขียนเข้าไปกราบนมัสการท่าน ต่อมาในปี ๒๕๕๑ ซึ่งหลวงปู่ได้จัดพิธีไหว้ครู ทุกปี ในวันแรกของการเข้าพรรษา บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่ออกวัตถุมงคลแต่ก็คงไม่ อนุญาตเหมือนหลายๆครั้งที่เคยขออนุญาตท่าน แต่พอไปขออนุญาตท่านก็อนุเคราะห์ให้ความเมตตาให้จัดสร้างได้ บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่ดีใจมากที่หลวงปู่ท่านให้ความเมตตา แต่สิ่งที่หลวงปู่ให้จัดสร้างนั้น เป็นสิ่งที่ทำยากมาก
ถ้าหากใครไม่ชำนาญก็คงจะทำไม่สำเร็จ อย่างแรกก็คือ วัวธนูทำด้วยครั่งพุทรา ที่กิ่งจะต้องชี้ไปทางทิศตะวันตก โดยตามตำรานั้นต้องเอาครั่งใส่ในกระทะที่ร้อน พอละลายก็โรยด้วยผงพุทธคุณ แล้วจึงนำมาปั้นเป็นตัววัวธนู อย่างที่สองคือ ตะกรุดรัตนะประโคนทัพ คือตะกรุดหนังกลองเพลแตกม้วนเป็นเกลียวเป็นเครื่องรางที่ใช้ในด้านคงกระพัน ชาตรี และเมตตาค้าขาย หนังกลองเพลแตกนั้นมีอายุกว่าร้อยปี อย่างที่สามคือ พระขุนแผนนั่งบัวซุ้มแก้ว กันภัย เมตตา ที่ต้องออกหาปฐวีธาตุอาถรรพ์จากหลายๆแห่งมาเป็นมวลสาร โดยฝังตะกรุดเงินสามดอกไว้ที่ใต้ฐาน อย่างที่สี่คือ ตะกรุดสาลิกาเกศามหาลาภพอกชันโรง เป็นตะกรุดเงินดอกเล็กที่พอกด้วยชันโรงผสมผงพุทธคุณรัตนะ วัตถุมงคลทั้งหมดนี้หลวงปู่ชวนท่านอนุญาตให้จัดสร้าง ในวาระวันไหว้ครูไตรมาส๕๑ ด้วย
หลวงปู่ชวน ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ปีมะโรง ปัจจุบันหลวงปู่ชวน กตปุญโญ อายุ ๘๑ ปี ๕๔ พรรษา ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๗ ปีตรงกับพ.ศ.๒๔๙๗ ณ อุโบสถวัดสามง่าม จ.นครปฐม
ในขณะนั้นมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเต๋ คงทองเป็นเจ้าอาวาส เหตุที่หลวงปู่ชวนบวชนั้นท่านกล่าวว่า โอ้ชีวิตฆราวาสนั้นก็มีแต่ความวุ่นวาย มีแต่เรื่องที่จะต้องเบียดเบียนกัน เห็นแล้วเราก็รู้สึกสังเวชใจ เราเองในชีวิตฆราวาสปกติก็ไม่เหมือนเขา เราเหมือนพระมากกว่า เราเองก็คิดจะบวชเพื่อจะได้อยู่ในร่มกาศาวพัตรตามที่เราตั้งใจไว้ เราเองไม่ชอบเบียดเบียนใคร เราไม่ชอบวุ่นวาย เราก็คิดว่าเราต้องบวช เพราะเราเองก็ได้ศึกษาธรรมมามาก รวมทั้งวิชาต่างๆที่เราได้เรียนจากหลวงตา จนแตกฉานพอสมควร เพราะว่าเราเป็นหลานแท้ๆของหลวงตาแช่ม วัดตาก้อง เราก็เลยรู้วิชาของหลวงตามากกว่าใคร
หลวงตาแช่มท่านยังสอนวิปัสสนาและข้อธรรมที่สำคัญให้เรา รวมทั้งวิชาทำตุ๊กตาทอง กุมารทอง และตะกรุดคงกระพันมหาเมตตา พอเราบวชแล้วเราก็เลยมาสร้างให้หลวงพ่อเต๋ ที่ท่านแจกนั่นแหละ เมื่อตั้งใจบวชอยู่ในเพศบรรพชิต หลวงปู่ชวนท่านก็เลยอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามกับหลวงพ่อเต๋ คงทองพระอาจารย์ ด้วยวิสัยเดิมของท่านเป็นพระที่ขยันเล่าเรียน ท่านได้เรียนพระปริยัติธรรม และขยันท่องบ่นมนต์คาถา มนต์พิธีจนแตกฉานได้อย่างรวดเร็วเหนือกว่าพระรุ่นเดียวกัน
จนเป็นที่รักของหลวงพ่อเต๋ เป็นอย่างมาก พระสหธรรมิกรุ่นราวคราวเดียวกันก็เห็นหลวงปู่ท่านบอกว่า ชื่อแย้ม ต่อมาก็คือ หลวงปู่แย้ม แห่งวัดสามง่ามนั่นเอง หลวงปู่ชวนเมื่ออยู่ในเพศบรรพชิต ท่านเป็นพระที่พูดตรง วาจาชัดเจนเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ข้อวัตรปฏิบัติ เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำ กิจวัตรอันต้องปฏิบัติในหน้าที่ของสงฆ์ ชอบเล่าเรียนสรรพวิชาต่างๆในไสยเวทและวิทยาคม ชอบแสวงหาครูอาจารย์ ความรู้ในข้อธรรมต่างๆ และไสยเวทหลายต่อหลายสำนัก ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีความรู้ทางด้านกรรมฐานเดิมอยู่แล้ว รวมทั้งเวทมนต์คาถาต่างๆท่านก็ศึกษามาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวช
จึงทำให้ท่านสามารถศึกษาวิชาความรู้จากครูอาจารย์ของท่านได้อย่างรวดเร็ว รู้แจ้งแทงตลอดในสรรพวิชานั้นๆอย่างลึกซึ้ง บางครั้งบางคราวท่านก็เอาสมุดข่อยเก่าโบราณมาศึกษาวิชาเพิ่มเติมอีกหลายแขนง ท่านได้กล่าวว่า ความรู้ต่างๆเรียนให้รู้ รู้ให้จริง เอาแต่วิชาดีๆ ปฏิบัติให้ได้ แล้วควรเก็บรักษาไว้ เพื่อสืบทอดสิ่งดีๆต่อไป อย่าเพียงแต่ว่ารู้งูๆปลาๆ ไม่ได้ผล เมื่อวันเวลาผ่านไป ท่านได้บวชเรียนจำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่าม ปรณนิบัติรับใช้หลวงพ่อเต๋ คงทอง เป็นเวลาหลายปี ท่านเล่าว่า อันวิชาที่เราเรียนมานั้น หากว่าจะทำประโยชน์ให้พระพุทธศาสนา เราก็จะสร้างวัตถุมงคล เพื่อให้หลวงพ่อเต๋ท่านแจกเวลาชาวบ้านมาทำบุญที่วัด ก็เลยสร้างตุ๊กตาทอง กุมารทอง และตะกรุดถักเชือกสีขาวโดยให้พระลูกวัดที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามเป็นผู้ ถัก โดยหลวงปู่ชวนท่านเป็นผู้สอนด้วยตนเอง
อนึ่งในการทำตุ๊กตาทอง กุมารทอง หลวงปู่ชวน ท่านได้จัดหามวลสารด้วยตัวท่านเอง มวลสารแต่ละอย่างนั้นท่านจะต้องเดินทางรอนแรมเข้าไปในป่าลึก เพื่อหาดิน ๗ โป่ง และเข้าไปพลีดินในป่าช้าผีดุอีก ๗ ป่าช้า รวมทั้งดิน ๗ ท่า จะต้องใช้ท่าน้ำที่คนเขาข้ามไป-มามากๆ จึงจะตรงตามตำราที่ว่าไว้ เพื่อเอามาผสมกันปั้นเป็นตุ๊กตาและกุมารทอง แล้วเสกด้วยคาถาเฉพาะในตำราเท่านั้น ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้รับแจกตุ๊กตาและกุมารทองแล้วนำไปบูชา ก็เกิดประสบการณ์มากมาย บางคนก็ได้เงินทองซึ่งเป็นลาภที่ไม่คาดคิด บางคนก็ค้าขายดีจนมีฐานะที่มั่งคั่งร่ำรวย ส่วนตะกรุดนั้นเรื่องคงกระพันชาตรีไม่ต้องพูดถึงแน่นอนที่สุด
นอกจากหลวงพ่อชวนจะสร้างตุ๊กตากุมารทอง ตะกรุด ท่านยังได้สร้างพระอีกหลายพิมพ์ให้พระอาจารย์ของท่านแจก วัตถุมงคลต่างๆนี้หลวงปู่ชวนท่านปลุกเสกเองทั้งหมด แต่ท่านไม่เคยบอกใคร ท่านเองบอกว่าท่านไม่อยากดัง ไม่อยากเหนื่อย หลวปู่ชวนได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามเป็นเวลาหลายพรรษา และตลอดเวลาที่อยู่วัดสามง่าม ท่านได้เที่ยวเสาะแสวงหาวิชาความรู้จากคณาจารย์หลายรูป
ท่านรู้สึกว่าคงจะถึงเวลาที่จะต้องออกธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจจะธรรมและความสงบ ในการออกจารึกแสวงหาบุญในการธุดงค์ดูบ้าง จึงตัดสินใจกราบลาหลวงพ่อเต๋ ออกธุดงค์ต่อไป ท่านธุดงค์ไปหลายสถานที่หลายจังหวัด เที่ยวนำคำสอนของพระพุทธองค์สั่งสอนพุทธบริษัทที่ท่านได้ธุดงค์ผ่าน ให้อยู่ในหลักธรรมอันดีของพุทธศาสนา
ครั้งหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปแถบจังหวัดราชบุรี ที่วัดถ้ำแห่งหนึ่งชื่อว่า ถ้ำเสือ ณ หมู่บ้านนี้มีพุทธบริษัทที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากพอสมควร หลวงปู่ชวนท่านมีสหธรรมิกอยู่รูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์คง หลวงพ่อท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ เพราะว่าญาติโยมได้ขอร้องนิมนต์ท่านให้อยู่ช่วยพัฒนาวัดและสั่งสอนพุทธ ศาสนิกชนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี หลวงปู่ท่านเองก็เห็นประโยชน์ก็เลยรับนิมนต์ที่จะช่วยพัฒนาวัดให้เจริญยิ่งขึ้น
ตลอดระยะเวลาที่จำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำเสือนี้ท่านได้ทำการจัดสร้าง เสนาสนะต่างๆมากมายให้เจริญขึ้นโดยลำดับ จนเป็นที่พอใจของพุทธบริษัททั่วไป หลวงปู่ชวน ท่านเป็นที่รักใคร่และให้ความเคารพของพุทธบริษัททั้งหลายเป็นอันมาก นอกจากนั้นหลวงปู่ชวนท่านยังเล็งเห็นว่าการศึกษาของชนรุ่นหลังว่าจะไม่มี ความรู้ จึงได้สร้างโรงเรียนให้อีกหนึ่งอาคาร ก็เรียกว่าเป็นโรงเรียนที่เรียนได้เป็นร้อยคน ชื่อว่าโรงเรียนชวนคงอุปถัมภ์
หลังจากการสร้างเสนาสนะภายในสำนักสงฆ์และดำเนินการสร้างโรงเรียนเป็นที่พอใจ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแล้ว หลวงปู่ชวนท่านก็ได้ขอลาญาติโยมเพื่อจะไปธุดงค์ต่อไปในครั้งนั้นมีผู้ เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่ได้พยายามรั้งหลวงปู่ไม่ให้ออกธุดงค์ แต่ด้วยความตั้งใจของหลวงปู่ก็ไม่มีใครสามารถห้ามหลวงปู่ไว้ได้ หลวงปู่ชวน กตปุญโญ ออกเดินทางธุดงค์ต่อไปท่านมุ่งหน้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี ท่านเดินธุดงค์ผ่านป่าเขาลำเนาไพรค่ำที่ใดก็พักที่นั่น ถนนหนทางก็ไม่ค่อยจะมีเหมือนสมัยนี้ ในเวลาเช้าถึงเวลาออกบิณฑบาตบางวันก็ได้ฉันบางวันก็มิได้ฉัน หลวงปู่บอกว่า บางมื้อฉันแค่ยอดผักบุ้งและใบขี้เหล็กเท่านั้น เดินธุดงค์มาจนถึงจังหวัดกาญจนบุรีมุ่งหน้าไปที่ อ.ศรีสวัสดิ์
หลวงปู่ชวนเล่าว่าแถบนี้มีแต่ป่ามีแต่เขา เดินธุดงค์ไปนานๆจะเจอหมู่บ้านสักหลัง ใบไม้คืออาหารประจำ แต่ก็รู้สึกสงบร่มรื่นในจิตใจไม่รู้สึกอิ่มไม่รู้สึกหิวเบาสบายอย่างน่า อัศจรรย์ หลวงปู่ชวนยังเล่าต่อว่าในป่าจังหวัดกาญจนบุรีนี้มีเสือ ช้าง และอสรพิษชุกชุมแต่ก็แปลกที่มันไม่ทำร้ายเรา
ผู้เขียนได้ฟังหลวงปู่ชวนท่านเล่าก็คิดว่าถ้าหลวงปู่ท่านไม่แน่จริงก็คงไม่ รอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงเข้าพรรษาหลวงปู่ชวนท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดแห่งหนึ่งชื่อว่าวัดเขา น้อยถ้ำหัวช้างในการจำพรรษาอยู่นี้หลวงปู่ชวนท่านก็ได้แวะเวียนไปสนทนาธรรม กับหลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้าเป็นประจำ จนชอบพอในอัธยาศัยซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่ออุตตมะอีกด้วย
ในการที่ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาน้อยนี้หลวงปู่ชวนท่านได้ทำการจัดสร้าง พระพุทธรูปใหญ่ไว้ที่วัดนี้ด้วย และรวมถึงกุฏิสงฆ์เสนาสนะต่างๆมากมาย อันนำมาซึ่งคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง นัยหนึ่งในการสร้างถาวรวัตถุต่างๆนั้นหลวงปู่ชวนท่านมักจะทำการออกแบบเองและ ลงมือทำด้วยตนเองเสมอ หลวงปู่ชวน กตปุญโญเมื่อที่ธุดงค์อยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีก็ได้พบกับคณาจารย์หลายท่าน ที่ท่านได้แวะไปสนทนาธรรม เช่นหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้าอยู่เป็นประจำ ท่านชอบพอกันมากได้สนทนาแลกเปลี่ยนวิชากันเป็นประจำในด้านวิปัสสนาธุระและ คันถะธุระ
จะเห็นได้ว่าหลวงปู่ชวน ท่านเป็นพระอริยบุคคลที่สรรสร้างคุณประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาและพุทธ บริษัทมากมายนานับประการ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งยวด มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ และคันธะธุระ สมกับเป็นพระสุปฏิปันโน สาธุชนให้ความศรัทธาเลื่อมใสมากมาย หลังจากที่ท่านได้สร้างองค์พระใหญ่เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ชวนท่านได้ธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า การเดินธุดงค์ที่ภาคเหนือ เวลาพุทธบริษัทใส่บาตรฉันไม่ค่อยได้ แต่ท่านก็ฉันตามจิตศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ในการธุดงค์ท่านก็ธุดงค์เพียงลำพัง จิตเรารู้สึกสงบร่มเย็นเป็นสรณะอันสงบสุขและจิตที่ผ่องแผ้ว รู้สึกสบายเยือกเย็น เหมือนกับเราได้อยู่ใกล้ๆพระพุทธองค์ ในการบิณฑบาตรบางวันก็ได้ฉัน บางวันก็ไม่ได้ฉัน แต่ทุกวันจิตก็เป็นปกติ ไม่รู้สึกหิว ไม่รู้สึกอิ่ม ในคืนหนึ่งได้ปักกรดอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ พอจิตสงบลงก็นิมิตว่ามีเทวดาองค์หนึ่ง ได้เข้ามาในนิมิตขอร้องว่า หลวงปู่ขอให้หลวงปู่เดินทางมาอยู่ที่วัดเขาแก้ว ต.องค์รักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ให้หลวงปู่มาช่วยแก้อาถรรพ์ภายในวัดนี้ด้วย เพราะมีแต่หลวงปู่เท่านั้นที่จะแก้อาถรรพ์และทำให้วัดนี้เจริญขึ้นได้ ตลอดจนจะทำให้พุทธศาสนิกชนอยู่ในศีลธรรมอันดีได้ หลวงปู่ท่านได้พิจารณาในนิมิต คิดอยู่ในใจว่า เราคงต้องไปตามคำขอร้องของเทวดาองค์นี้ ก็เลยตัดสินใจเดินทางมาที่วัดเขาแก้วตามที่เทวดาองค์นั้นได้ขอร้องในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙
ในขณะนั้นที่วัดเขาแก้วมีกุฏิไม้เก่าๆอยู่ไม่กี่หลัง พระอุโบสถฐานเตี้ยติดดินฝนตกน้ำไหลจนท่วมเข้าไปในอุโบสถมีหลังคาสังกะสีคลุม แต่ก็ไม่สามารถกันแดดกันฝนได้ หลวงปู่ชวนได้เข้าไปจำพรรษาที่วัดเขาแก้วอยู่หนึ่งปีก็ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.๒๕๒๐ ลำดับเจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๐ ตั้งแต่สร้างวัดเขาแก้วมา หลวงปู่ชวน กตปุญโญนั้นได้เริ่มพัฒนาปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะว่าวัดนั้นอยู่ไกลจากหมู่บ้านผู้คนพุทธบริษัทก็มีน้อย อีกทั้งถนนหนทางก็ยากลำบากที่จะเข้ามายังวัด อีกอย่างหนึ่งคนสมัยนั้นไม่ค่อยจะเดินผ่านเพราะว่าผีดุมาก
หลวงปู่ชวน กตปุญโญท่านได้ทำการจัดสร้างถนนหนทางเข้าวัดได้สะดวกขึ้น ถนนนั้นยาวนับทั้งสองด้านเป็น๒-๓กิโลเมตร ต่อมาได้มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของหลวงพ่อ ได้ทยอยกันมาทำบุญที่วัดเขาแก้วมากขึ้นแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีปัจจัยพอ ที่จะสร้างเสนาสนะอื่นให้เกิดขึ้น หลวงปู่ชวน กตปุญโญ ท่านได้ปฏิบัติทุกวิถีทางที่จะทำให้วัดเขาแก้วเจริญขึ้น ท่านทุ่มเททุกอย่างเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มความสามารถ หลวงปู่ท่านได้ทำการทำนุบำรุงเสนาสนะแบบค่อยเป็นค่อยไป ท่านได้สร้างท้าวเวสสุวัณและพระวิษณุกรรมไว้ที่ด้านหน้าพระอุโบสถเพื่อดับ อาถรรพ์ต่างๆ นับจากวันที่หลวงปู่ชวนท่านได้มาอยู่ที่วัดเขาแก้วตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆไม่ว่าจะเป็นศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ พระอุโบสถ พระเมรุและวิหารหลวงปู่ขาวที่ย้ายมาจากวิหารหลังเก่า
ปัจจุบันวัดเขาแก้วเจริญขึ้นตามลำดับ โดยส่วนใหญ่แล้วหลวงปู่ชวนท่านจะใช้ปัจจัยส่วนตัวของท่านในการจัดสร้างเสนาสนะ ต่างๆ มีคนเคยถามท่านว่า หลวงปู่เอาปัจจัยที่ใดมาสร้างวัดครับ หลวงปู่ท่านตอบว่า ฉันก็เป็นหมอรักษาคนป่วยทางกายและใจ ลูกศิษย์ลูกหาของท่านต่างรู้ดีว่าหลวงปู่ท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีตาทิพย์ รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า พยากรณ์แม่นยำอย่างตาเห็น แม้หลวงปู่ท่านจะจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาแก้ว ท่านก็ยังคงปฏิบัติดังเช่นพระป่าเช่นเดิม ในเวลาเข้าพรรษา หลวงปู่ชวนท่านจะไม่จำวัดในห้อง แต่จะปักกรดจำวัดอยู่ตลอดทั้งพรรษา ท่านยังคงปฏิบัติกรรมฐานวันละหลายชั่วโมง ทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยละเว้นเลยสักวัน
หลวงปู่ชวนท่านเป็นพระที่มีจริยวัตรที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านเป็นคนที่พูดจาขวานผ่าซาก ตรงไปตรงมา เสียงดังฟังชัด แต่คำพูดของท่านล้วนแต่เป็นความจริงและมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอ หลวงปู่ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่ไม่ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ ยศถาบรรดาศักดิ์ทั้งหลาย ดังเช่นที่คณะสงฆ์มีมติแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล แต่หลวงปู่ชวนท่านก็ไม่รับ หลวงปู่ชวนท่านยังได้ชื่อว่า เป็นบรมครูวิชาไสเวทย์พุทธาคมรูปหนึ่งของเมืองไทย ณ เวลานี้ แต่ท่านก็ให้นิยามของไสเวทย์วิทยาคมไว้ว่า อันวิชาต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้มีทั้งวิชาที่ดีและไม่ดี หากเราใช้วิชาที่ไม่ดีตัวเราก็เป็นคนไม่ดีด้วย
หากเราใช้วิชาที่ดีเราก็จะดี คำว่าวิชาไม่ใช่อวิชชาต้องเข้าใจให้ถูก คำว่าวิชาต้องดีและต้องถูกต้อง ที่ปลุกเสกกันทุกวันนี้มีจุดมุ่งหมายอะไร ปลุกเสกนี้คือการนำเอาพระรัตนตรัยเป็นใหญ่ ส่วนที่จะปลุกเสกอะไรนั้น ก็ให้ปลุกเสกตามตำรา อันที่จริง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก็ดีที่สุดกว่าสิ่งใดแล้ว เราคือลูกตถาคต เราเป็นผู้ทรงศีล เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา หากโกหกใครกินก็หมดความเป็นผู้ทรงศีล ทรงธรรมอันเป็นสิ่งล้ำค่า
ใน การสร้างวัตถุมงคลนั้น หลังจากที่หลวงปู่ชวน ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลให้หลวงพ่อเต๋ คงทอง แห่งวัดสามง่ามแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์วัตรตลอดระยะเวลาหลายปี ท่านก็มิได้สร้างวัตถุมงคลอะไรเลย จนกระทั่งมาจำพรรษาที่วัดเขาแก้ว ท่านจึงได้สร้างพระเนื้อเกสรขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ชื่อว่าพระชัยมงคล ปีพ.ศ.๒๕๒๒ พุทธลักษณะองค์พระสามเหลี่ยม ซุ้มแก้ว ปางมารวิชัย มีเส้นทองแดงม้วนเป็นตัวนะ ประจุอยู่ด้านหลังองค์พระ หลังจากปลุกเสกเสร็จแล้วท่านได้นำมาใส่บาตรไว้ในกุฏิโดยวางไว้เฉยๆมิได้ให้ บูชาแต่ประการใด วันเวลาผ่านไปหลายปี ในระยะหลังลูกศิษย์ที่วัดได้อารธนาขึ้นคอ แล้วเกิดปฏิหาริย์มากมายในด้านเมตตา คงกระพันชาตรี เป็นที่แสวงหากันมาก ลูกศิษย์เห็นว่าพระมีอยู่จำนวนพอสมควร เลยนำออกมาให้บูชาเพื่อนำปัจจัยมาทำนุบำรุงสิ่งต่างๆภายในวัด องค์ละ ๑๐๐ บาท ปัจจุบันน่าจะมีจำนวนพระไม่เกิน 50 องค์
ในระยะหลังกรรมการวัดตลอดจนศิษย์ทั้งหลาย ได้ขอให้หลวงปู่สร้างวัตถุมงคล เพื่อหารายได้สร้างเสนาสนะและพระอาราม ท่านจึงได้ออกเหรียญรูปไข่ในปี ๒๕๔๐ ต่อมาในปี ๒๕๔๓ ท่านได้สร้างเหรียญน้ำเต้าพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จากนั้นอีก ๗ ปีต่อมาตรงกับพุทธศักราช ๒๕๕๐ คณะศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างตะกรุดเนื้อชินตะกั่ว โดยได้เข้านิมนต์ขอสร้างถึง ๓ เดือน ท่านจึงได้อนุญาตให้จัดสร้างชื่อว่า ตะกรุดชวนคงชาตรี เพื่อหารายได้เทปูนหน้าลานวัด ภายในระยะเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถเทลานวัดเสร็จสมบูรณ์ จนเป็นที่กล่าวขานกันว่าหลวงปู่ท่านรู้วาระจิต รู้กาลเวลา ที่จะออกวัตถุมงคลในเวลาใดดีที่สุด
หลังจากที่ท่านได้จัดสร้างตะกรุดในครั้งนั้น ก็มีนิตยสารต่างๆเข้ามาขออนุญาตินำประวัติหลวงปู่ชวนออกเผยแผ่ แต่ท่านก็ปฏิเสธตลอดเรื่อยมา รวมทั้งผู้ที่ต้องการทำหนังสือและจัดสร้างวัตถุมงคลได้มาขออนุญาติท่าน โดยออกในนามของหลวงปู่ชวน ท่านและวัด แต่ท่านก็ไม่อนุญาติไม่ว่าจะขอร้องท่านกี่ครั้งก็ตาม ท่านบอกว่าจริงๆแล้วฉันไม่สนใจหรอก ไม่อยากจะดังด้วย ฉันทำมาจนเบื่อแล้ว ทำให้หลวงพ่อเต๋ ท่านแจกมากมาย ไม่รู้ว่าฉันมีดีอะไร คงจะเป็นเมื่อคราวที่โจรมันปล้น แล้วบังเอิญมันยิงไม่ออก เขาก็เลยว่าฉันมีดี มันเป็นอย่างนั้นต่างหาก
หลวงปู่ชวน ท่านได้คุยกับผู้เขียนว่า อันที่จริงแล้วฉันก็รู้สึกว่าอยากจะไปต่อ เพื่อสร้างประโยชน์ให้พระพุทธศาสนาที่อื่นบ้าง แต่เราก็รู้สึกว่าอายุมาก สังขารมันไม่อำนวย บางครั้งดี บางครั้งร้ายคนแก่เป็นอย่างนี้แหละ แต่ฉันก็อยากสร้างโรงทาน และศาลาธรรมสังเวชให้ไว้เป็นประโยชน์ต่อไป เมื่อเรามีเงินก็สร้างเมื่อไม่มีก็เก็บให้พอเสียก่อน ฉันไม่ชอบทำทีละนิดหน่อย ชอบทำทีเดียวให้มันลุล่วงไปเลย
ท่านกล่าวเมื่อตอนที่ผู้เขียนเข้าไปกราบนมัสการท่าน ต่อมาในปี ๒๕๕๑ ซึ่งหลวงปู่ได้จัดพิธีไหว้ครู ทุกปี ในวันแรกของการเข้าพรรษา บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่ออกวัตถุมงคลแต่ก็คงไม่ อนุญาตเหมือนหลายๆครั้งที่เคยขออนุญาตท่าน แต่พอไปขออนุญาตท่านก็อนุเคราะห์ให้ความเมตตาให้จัดสร้างได้ บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่ดีใจมากที่หลวงปู่ท่านให้ความเมตตา แต่สิ่งที่หลวงปู่ให้จัดสร้างนั้น เป็นสิ่งที่ทำยากมาก
ถ้าหากใครไม่ชำนาญก็คงจะทำไม่สำเร็จ อย่างแรกก็คือ วัวธนูทำด้วยครั่งพุทรา ที่กิ่งจะต้องชี้ไปทางทิศตะวันตก โดยตามตำรานั้นต้องเอาครั่งใส่ในกระทะที่ร้อน พอละลายก็โรยด้วยผงพุทธคุณ แล้วจึงนำมาปั้นเป็นตัววัวธนู อย่างที่สองคือ ตะกรุดรัตนะประโคนทัพ คือตะกรุดหนังกลองเพลแตกม้วนเป็นเกลียวเป็นเครื่องรางที่ใช้ในด้านคงกระพัน ชาตรี และเมตตาค้าขาย หนังกลองเพลแตกนั้นมีอายุกว่าร้อยปี อย่างที่สามคือ พระขุนแผนนั่งบัวซุ้มแก้ว กันภัย เมตตา ที่ต้องออกหาปฐวีธาตุอาถรรพ์จากหลายๆแห่งมาเป็นมวลสาร โดยฝังตะกรุดเงินสามดอกไว้ที่ใต้ฐาน อย่างที่สี่คือ ตะกรุดสาลิกาเกศามหาลาภพอกชันโรง เป็นตะกรุดเงินดอกเล็กที่พอกด้วยชันโรงผสมผงพุทธคุณรัตนะ วัตถุมงคลทั้งหมดนี้หลวงปู่ชวนท่านอนุญาตให้จัดสร้าง ในวาระวันไหว้ครูไตรมาส๕๑ ด้วย
ขออนุญาตเรียนถามนะครับ-ด้วยความสงสัย...1. หลวงปู่ชวนอายุตอนนี้ 80 กว่าปี ขณะที่หลวงปู่แย้มมรณภาพไปแล้วในอายุ 100กว่าปี ดูเงื่อนเวลาแล้วรู้สึกมันขบ ๆ กันอยู่ 2. เครื่องรางของขลังเช่นกุมารทอง ในวงการต่างก็รับรู้ว่าหลวงพ่อเต๋ท่านสร้างเอง เหตุใดจึงกลายเป็นหลวงปู่ชวนสร้างให้หลวงพ่อเต๋ อีกทั้งตามประวัติหลวงพ่อเต๋ท่านเรียนวิชามาจากหลวงตาแดงและหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก และหลวงพ่อเต๋มรณภาพเมื่อเดือนธันวาคม 2524 อายุ 90 ปี อายุมันก็จะขบ ๆ กันอยู่
ตอบลบ