หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสนา
หลวง
พ่อรักษ์ อนาลโย เกิดในสกุล จูนิยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2515
(ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1) ปีชวด ที่บ้านเลขที่ 103/1 หมู่ที่ 4
ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ครอบครัวประกอบอาชีพเลี้ยงปลาสลิด
โยมบิดาชื่อ นายสำราญ จูนิยม โยมมารดาชื่อ นางนวล จูนิยม
มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด จำนวน 3 คน
1. หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย 2. นายสาโรจน์ จูนิยม 3. นางศิรัตน์ จูนิยม |
ชีวิตปฐมวัย
หลวงพ่อรักษ์
ในช่วงวัยเด็กได้รับการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนจากบิดามารดา
และญาติมิตรเป็นอย่างดีเช่นบุตรคนอื่นๆ
ความเป็นอยู่สนุกสนานตามวัยเด็กทั่วไป มีสุขภาพแข็งแรง
และชอบเข้าวัดทำบุญโดยจะไปกับคุณยายทุกวันพระ
รวมทั้งยังมีอุปนิสัยชอบพูดคุยกับพระเณร
ชอบศึกษาเขียนอักขระขอมและเลขยันต์ต่างๆ อยู่เนืองนิตย์
ท่านได้รับการศึกษาจากโรงเรียน หลวงพ่อปาน คลองด่านอนุสรณ์ อ.บางบ่อ
จ.สมุทรปราการ สำเร็จการศึกษามัธยมปีที่ 3 เมื่ออายุ 19 ปี
ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ่มราษฎร์ศรัทธาธรรม จ.สมุทรปราการ โดยมี
หลวงพ่อสะอาด (ศิษย์สาย หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) เป็นพระอุปัฌาย์
ท่านได้ปฏิบัติรับใช้ หลวงพ่อสะอาด และศึกษาธรรมต่างๆ ทั้งรวมกรรมฐาน
จากพระอุปัชฌาย์ ซึ่งต่อมาได้ลาสิกขามาช่วยโยมบิดามารดาประกอบอาชีพทางบ้าน
|
อุปสมบท
หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2542 ณ
พัทธสีมา วัดหลักชัย ต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี
พระครูสิริธรรมทัต (หลวงพ่อสุมิตร) เจ้าอาวาสวัดหลักชัย เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูโฆษิตวิหารคุณ วัดตรีพาราสีมาเขต เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และพระครูเกษมปทุมรักษ์ วัดลาดปทุมคงคาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า อนาลโย หมายถึง ผู้ไม่มีอาลัย
เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหลักชัย
คอยอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ จนกระทั่งพระอุปัชฌาย์มรณภาพลง
ซึ่งระหว่างนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน
และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่เนืองนิตย์ และสามารถศึกษาสอบนักธรรมชั้น ตรี - โท -
เอก ได้อย่างเจนจบ และที่น่าอัศจรรย์ หลวงพ่อรักษ์
สามารถท่องจำพระปาฎิโมกข์ได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่ท่านยังเป็นศิษย์วัดอยู่
|
อุปนิสัย
หลวงพ่อรักษ์ ท่านเป็นพระภิกษุผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย อุปนิสัยรักความสงบ ชอบปฏิบัติกรรมฐาน รวมทั้งชอบศึกษากรรมฐาน และพระไตรปิฎก รวมทั้งไสยเวทย์ต่างๆ ปณิธานในเพศบรรชิต ท่านตั้งใจที่จะเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนถึงการสอนสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ให้แต่ศิษย์ยานุศิษย์ทั่วไป เพื่อเป็นหลักการดำรงชีวิต ให้ศิษย์มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางโลกและทางธรรม |
เกียรติประวัติ และสมณศักดิ์ฐานานุกรม
พ.ศ. 2542 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พระภิกษุ-สามเณร) พ.ศ. 2544 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2545 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระสมุห์ ในฐานานุกรมของ พระครูสุภัทรกิตติ เจ้าอาวาสวัดลาดบัวหลวง เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) พ.ศ. 2545 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระกรรมฐานประจำจังหวัด รุ่นที่ 1 (กรมศาสนา) เป็นพระวิปัสสนาจารย์ พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการ เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง (ปัจจุบันลาออกแล้ว) พ.ศ. 2545 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส (เป็นพระกรรมวาจาจารย์) พ.ศ. 2546 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระกรรมฐานประจำจังหวัด รุ่นที่ 1 (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) เป็นพระวิปัสสนาจารย์ พ.ศ. 2547 รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทธาวาส พัฒนาวัดได้รับแต่งตั้ง เป็นศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม พัฒนาวัดได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) พ.ศ. 2549 พัฒนาวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมสอบกรรมฐาน ได้รับแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13 โดยมี พระสมุห์สมรักษ์ อนาลโย (หลวงพ่อรักษ์) เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม พ.ศ. 2552 ได้รับพิจารณาแต่งตั้ง ให้เป็นประธานจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูธรรมธร ในฐานานุกรมของ พระเดชพระคุณ พระพรหมโมลี วัดปากน้ำ เจ้าคณะภาค ๕
พ.ศ. 2555
ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา วิชาวิปัสสนาภาวนา
จาก มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
|
ด้านการพิธีกรรมปลุกเสก สร้างพระเครื่อง และวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ
การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ของ หลวงพ่อรักษ์ ท่านได้เริ่มสร้างเป็นพระผงขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อตอนท่านอายุ 30 ปี โดยท่านได้นำวิชาความรู้ต่างๆ ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา โดยเริ่มเขียนยันต์ ลงผงอิทธิเจ และผงยันต์ต่างๆ รวมทั้งหามวลสาร เช่น ผงเกษรดอกไม้บูชาพระ, ดอกไม้บูชาครูอาจารย์, ผงธูป, ผงพระเครื่องหักต่างๆ, ผงว่าน นำมาผสมทำวัตถุมงคล และทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกมวลสารเป็นปฐมฤกษ์ ก่อนปั้มพระ และเมื่อสร้างเป็นองค์พระเครื่องเรียบร้อยแล้ว ก็นำมาปลุกเสกไตรมาสอีก 3 เดือน วัตถุมงคลของ หลวงพ่อรักษ์ มีหลายรูปแบบ พระสมเด็จ พระปิดตา พระกริ่ง กำไล ตะกรุด พญาหนุมาน พญาคชสีห์ กระทิง เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อหาทุนทรัพย์สร้างและพัฒนาวัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นลำดับ
หลวงพ่อรักษ์
ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของตะกรุดจารมือรุ่นต่างๆ สำหรับ
ตะกรุดที่โดดเด่นมีประสบการณ์สูงของท่าน คือ "ตะกรุดมหาบารมี ๓๐ ทัศ"
ซึ่งศิษยานุศิษย์และสาธุชนต่างขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย
เจ้าตำหรับตะกรุดมหาบารมี ๓๐ ทัศ แห่งทุ่งลาดบัวหลวง เมืองกรุงศรีอยุธยา"
วัตถุมงคลของ หลวงพ่อรักษ์
นั้นส่วนมากท่านมักจะปลุกเสกของท่านด้วยพุทธาคมที่ท่านร่ำเรียนมาอย่างเต็ม
พลัง หลักการอธิษฐานจิตของท่านนั้นจะเน้นไปทาง เมตตามหาเสน่ห์ - โชคลาภ
เงินทอง - ความสำเร็จ - กันคุณไสยต่างๆ และด้านแคล้วคลาดกันภัยคงกระพัน
เป็นเลิศ
การทำวัตถุมงคลของ หลวงพ่อรักษ์ นั้น ท่านมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย 4 ประการสำคัญคือ
1. ดูที่เจตนา ถ้าวัตถุประสงค์ดี วัตถุมงคลจึงจะดี 2. พิธีกรรม ถูกต้องตามโบราณกาลหรือไม่ 3. มวลสารดี 4. ดูฤกษ์ผานาทีว่าเหมาะสมหรือไม่
หลวงพ่อรักษ์
ท่านสร้างวัตถุมงคลเพื่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา
ท่านกล่าวย้ำเสมอว่า... การทำวัตถุมงคลต้องตั้งใจทำ
ให้ผู้นำไปใช้ได้รับพุทธคุณครอบจักรวาล...
วัตถุมงคลทำไว้มอบให้กับญาติโยมที่บริจาคสมทบทุนสร้างวัด
ไม่ได้ทำเพื่อซื้อขาย เป็นที่ระลึกว่าใครได้ไปสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร
สร้างถาวรวัตถุ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนามาเท่านั้น
|
ด้านการอบรมธรรมมะ สอนสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
หลวงพ่อรักษ์ เป็นพระเกจิอาจารย์
ที่เชี่ยวชาญในการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
ท่านได้พัฒนาวัดสุทธาวาสจากเดิมที่เป็นวัดธรรมดาทั่วไป
จนเป็นที่รู้จักแก่สาธุชน ว่า "วัดสุทธาวาส วิปัสสนา"
เป็นสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13
(วัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมนี้ มีดีกรีเทียบเท่ากับพระอารามหลวงชั้นตรี)
ผลงานและสิ่งที่ หลวงพ่อรักษ์
ตั้งใจทำมาตลอดคือ งานด้านการเผยแผ่หลักธรรม คำสอนขององค์
สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า ในรูปแบบของการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน
และวิปัสสนากรรมฐาน
โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ท่านได้เข้ามาอยู่วัดแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งการปฏิบัติธรรมจะจัดขึ้นทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ สุดท้ายของสิ้นเดือน
ตลอดทั้งปี โดยมี หลวงพ่อรักษ์ เป็นเจ้าสำนัก และสอนกรรมฐาน
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
อีกทั้งยังแสดงถึงการที่หลวงพ่อเมตตาหวังดีต่อศิษยานุศิษย์และสาธุชน
ที่หวังให้ลูกศิษย์ทุกคนมีศีล สมาธิ ปัญญาที่ดี และยังมีสุคติเป็นที่ไป
อีกทั้งมีความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาตลอดไป
หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ และเรียนพระคาถาพุทธาคมจาก พระเกจิอาจารย์ต่างๆ ซึ่ง
หลวงพ่อแต่ละองค์นั้น
ท่านก็ได้ประสิทธิ์ประสาทพุทธาคมของท่านให้แก่พระอาจารย์รักษ์
และยังได้มอบเหล็กจารของท่านให้กับ พระอาจารย์รักษ์
ไว้บูชาและใช้ในพิธีพุทธาภิเษกต่างๆ
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น