หลวงพ่อประมุข วัดจงโก


พระครูประดิษฐ์นวการ (หลวงพ่อประมุข ปชากุโล) 
เจ้าอาวาสวัดจงโก และดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอลำสนธิ จ.ลพบุรี 

ท่านเป็นพระกรรมฐานในสายธรรมของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยได้รับอุบายธรรมจากหลวงปู่มั่น และ คณาจารย์ศิษย์ของท่าน ตั้งแต่อายุยัง น้อย สมัยเป็นสามเณร 

ท่านเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ คือเป็นศิษย์หลวงพ่อคง วัดถนนหักใหญ่ และก็ถือเป็นสหธรรมมิกทางธรรมกันด้วย เพราะท่านอยู่เขตอำเภอติดต่อกัน ไปมาหาสู่กันตลอด ตอนที่หลวงพ่อประมุข จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตร หลวงพ่อคูณท่านก็ได้มาช่วยงาน และร่วมพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ของหลวงพ่อประมุขที่แจกในงาน และช่วยงานจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 

หลวงพ่อประมุขท่านก็ถือเป็นเกจิที่ไม่ค่อยจะสอนให้ลูกศิษย์ลูกหายึดติดกับวัตถุมากเกินไป เพราะจะดีจะชัวอยู่ที่ตัวเราอยู่แล้ว พระเครื่องเป็นเพียงเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้คนเราเวลาจะทำอะไรที่เป็นสิ่งไม่ดีก็จะไม่กล้าทำ แต่ท่านก็ได้รับกิจนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกมากมาย ยกตัวอย่าง ท่านได้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จนางพญา อาจารย์ถนอม ปี ๑๔ วัดนางพญา ซึ่งถือเป็นพิธีที่ใหญ่มากในสมัยนั้น 

หลวงพ่อท่านยังเป็นพระนักพัฒนา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดจงโก ท่านก็พัฒนาสิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัด จนครบหมดทุกอย่าง และท่านยังได้สร้างสถานที่ต่างๆเพื่อสังคมอีกมากมาย ยกตัวอย่างท่านได้สร้างโรงพยาบาลลำสนธิ ให้กับชาวบ้านซึ่งเวลาเจ้บไข้ได้ป่วยจะได้ไม่ต้องลำบากในการเดินทางไปรักษาในตัวจังหวัด โดยท่านได้คิดริเริ่มและนำเรื่องไปปรึกษาและขอเงินสนับสนุนจากทางหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณก็เห็นด้วยและให้เงินสนับสนุนมาสร้างโรงพยาบาลจนสำเร็จลุล่วง รวมเงินค่าก่อสร้างและค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมแล้วเป็นเงินประมาณ 17 ล้านบาท และยังจัดทำโครงการแจกจักรยาน 100 คันเพื่อแจกแก่เด็กนักเรียนยากจนและบ้านอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน 

พระครูประดิษฐ์นวการ นามเดิมคือ ประมุข ประชากุล เกิด เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่บ้านหนองเรือ อำเภอพล จังหวัด ขอนแก่น ปัจจุบันอายุ ๗๓ ปี เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้อง ๑๐ ของนายบุญมี และนางหล้า ประชากุล บิดาเคยบวชเป็นพระอยู่ วัดบรมนิวาศ กรุงเทพมหานคร รุ่นเดียวกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) บิดาของท่านเป็นทั้งนักปฏิบัติและปริญัติ เป็นผู้ใฝ่ศึกษาค้นคว้าจนนับว่าเป็นผู้รู้คนหนึ่ง แต่งหนังสือไว้หลายเรื่อง ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง ค่าว โคลงของอีสาน 

พระครูประดิษฐ์นวการในวัยเด็กได้ไปอยู่กับลุงในกรุงเทพมหานคร และศึกษาจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบรมนิวาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ขณะที่อายุ ๑๒ ปี และครองสมณเพศจนถึงปัจจุบัน 

หลวงพ่อประมุขท่านเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับ หลวงพ่อคูณ คือศิษย์หลวงพ่อคง วัดถนนหักใหญ่ ซึ่งทำให้ท่านสนิทสนมถือเป็นสหธรรมมิกกัน เพราะวัดของท่านทั้ง 2 อยู่ในเขตพื้นที่ติดต่อกัน สมัยหลวงพ่อประมุขจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตร ที่วัดจงโกหลวงพ่อคูณท่านก็มาร่วมพุทธาภิเษก วัตถุมงคลและช่วยงานจนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อีกทั้งตอนที่หลวงพ่อจะมีโครงการสร้างโรงพยาบาลลำสนธิ ให้กับชาวบ้าน ท่านก็ได้ไปปรึกษาและขอทุนสนับสนุนจากหลวงพ่อคูณ ซึ่งหลวงพ่อคูณก็เห็นดีด้วย และให้เงินทุนสนับสนุนมาจำนวนมาก จนสำเร็จลุล่วงเป็นโรงพยาบาล ให้กับประชาชนได้พึ่งพารักษา ซึ่งงบประมาณการสร้างรวมทั้งเครื่องมือแพทย์ทั้งหมดประมาณ 17 ล้านบาท 

การทำงาน 
ด้านศาสนา 
พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น เจ้าอาวาสวัดจงโก 
พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น เจ้าคณะตำบลหนองยายโต๊ะ 
พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็น พระอุปัชฌาย์ 
พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น พระธรรมฑูตจังหวัดลพบุรี 
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น รองเจ้าคณะอำเภอชัยบาดาล 
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น กรรมการคณะสงฆ์จังหวัดลพบุรี 
พ.ศ. ๒๕๓๘ รักษาการ เจ้าคณะอำเภอลำสนธิ 
พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็น เจ้าคณะอำเภอลำสนธิ 

ด้านส่งเสริมการศึกษา 
ตั้งกองทุน สงเคราะห์นักเรียนยากไร้และทุนยากจน 
ตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา หลวงพ่อประมุข ปชากุโล 
จัดทำโครงการจักรยานเพื่อการศึกษา ๑๐๐ คัน 
ด้านสังคมสงเคราะห์ 
ริเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลลำสนธิ 
จัดทำโครงการแนวคิดชุมชนเกษตรกรกระแสธรรม 
จัดทำโครงการแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ประชาชนที่ประสบปัญหา 
จัดทำโครงการกองทุนธนาคารข้าวให้แก่ ชุมชนหมู่ที่ ๓๙ ตำบลหนองรี 
เป็นประธานจัดหาทุนสร้างโรงพาบาลลำสนธิ 

การเผยแพร่ผลงาน 
พระครูประดิษฐ์นวการมีคติว่าการสร้างคนได้บุญยิ่งกว่าการสร้างโบสถ์ ศาลา เมื่อคนพร้อมเมื่อใด วัตถุต่างๆก็จะพร้อมขึ้นเอง ดังนั้นหลักการการพัฒนาของท่านจึงพัฒนาคนก่อน ดังนี้ 

ส่งเสริมให้ลูกศิษย์ให้เรียนนักธรรมบาลีอย่างจริงจัง มีภาคบังคับให้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ด้วยเพื่อให้เข้าใจในพระธรรมคำสอนที่ เรียนมาว่าได้ผลจริง ผู้ที่สอบได้จะให้รางวัลเป็น เงินจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ขยันเรียน และเมื่อเรียนจบต้องการจะศึกาต่อในกรุงเทพมหานคร ท่านจะนำไปฝากไว้ที่วัดใดวัดหนึ่งพร้อมส่งเงินค่าใช้จ่ายในการศึกษาให้ด้วย การปกครองของท่านเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก มีแต่ความเมตตาช่วยเหลือศิษย์ให้ได้ดี สวดมนต์ภาวนา ทุกเช้า เย็น ไม่เคยขาด และอบรมพระ เณร เป็นประจำ ตลอดจนฝึกกัมมัฏฐานแก่ประชาชนทั่วไป 

เกียรติคุณ 
ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาดีเด่น สาขาสงเคราะห์ประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสนา

หลวงปู่สี อนุตฺตโร วัดบ้านคำข่าสามัญเทพวนาราม